สรุปดราม่า Miz Biz ใครว่าเฮย์ลีย์ไม่ใช่พวกสตรีนิยม

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ถ้าได้ตามข่าวเว็บเพลง หรือบล็อคเกี่ยวกับเพลงอัลเทอร์เนทีฟจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับ เฮย์ลีย์ วิลเลียมส์ที่พูดถึงอัลบั้ม Riot! กับเพลง Misery Business ที่เขียนประโคมว่า เธอเป็นแอนทายเฟมินิสต์ หรือพวกที่ไม่เป็นนักสตรีนิยม
เนื่องจากเพลง Miz Biz นั้นมีเนื้อหาพูดโจมตีผู้หญิงอย่างเช่นท่อน
“once a whore you’re nothing more i’m sorry that’ll never change” หรือถ้าแปลง่ายๆก็คือ เมื่อเธอเลือกที่จะร่านแล้ว ยังไง ยังไง ก็เธอคงจะเปลี่ยนไม่ได้ (นี่แปลได้ซอฟท์มาก)

เริ่มเรื่องจากเมื่อไม่นานมานี้เฮย์ลีย์ได้ให้สัมภาษณ์กับ Track Seven เป็นบล็อคเพลงโลคอล ซึ่งเนื้อหาใจความจะเกี่ยวกับอัลบั้ม Riot! ซะมากกว่า After Laughter ด้วยซ้ำไป สามารถอ่านสัมภาษณ์เต็มที่นี่
เนื้อหาที่ทำให้เป็นประเด็นคือ มีคนวิพากย์วิจารณ์ว่า คนที่แต่งเพลงอย่าง Misery Business ไม่มีทางที่จะเป็น feminist icon ได้อย่างแน่นอน
ทาง Track Seven ก็เลยเปิดคำถามนี้ให้ทางเฮย์ลีย์ได้ให้สัมถาษณ์ กับคำถามที่ว่า
เพลง Misery Business นั้น ถูกแต่งขึ้นโดยวิธีการของนักแต่งเพลงที่แต่งอย่างตรงไปตรงมา หรือ ความคิดของเด็กที่ไร้เดียงสากันแน่?

“ฉันเป็นทั้งสองอย่างนั่นแหละ เนื้อเพลงมาจากไดอารี่ของฉัน แต่ตอนนั้นที่ฉันยังไม่รู้คือ ฉันกำลังเขียนคำปดลงไป เหมือนวัยรุ่นทั่วๆไป ทำนองว่า ‘ฉันไม่เหมือนผู้หญิงคนอื่น’ เป็นสาวเท่ห์ ซึ่งมันคืออะไรตอนนี้ฉันยังไม่รู้เลย ใครเป็นคนตัดสินหรอว่า อันนี้เจ๋ง อันนั้นไม่เจ๋ง? พวกผู้ชายรึป่าว? หรือพวกไอคอนผู้หญิงที่เราชื่นชมไว้บนหิ้ง?

“เป็นเรื่องที่ทำให้ฉันรำคาญมาก ฉันทำอะไรหลายๆอย่างก่อนที่เรื่องสิทธิสตรีจะเกิดประเด็นเสียอีก พอมันกลายเป็นประเด็น ฉันต้องมาอธิบาย และแสดงให้ทุกคนเข้าใจ ตอนนั้นฉันอายุ 17 เขียนเพลงออกมา และถ้าเพลงพวกนั้นมันทำให้ฉันโตขึ้น เข้าใจอะไรมากขึ้น ทำให้ฉันเรียนรู้ ฉันก็โอเคกับมัน”

“ปัญหาคือเนื้อเพลงมันไม่ได้เกี่ยวกับว่าฉันมีปัญหากับใครสมัยตอนเรียน มันแค่เกี่ยวกับไฮสคูล เพื่อนๆ ความรัก แค่เพียงแต่คำที่ใช้ไม่ได้เกิดขึ้นมาจริงๆในบทสนทนา จริงๆคือบริบททั้งหมดคือการจัดฉากขึ้นมา ซึ่งไม่มีจริง”

“ฉันอยากให้ตัวฉันเองรู้ว่า ท้ายที่สุดแล้วฉันพยายามทำสิ่งที่ถูกต้อง ทางเดินของฉัน ฉันกำหนดเอง ไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ไม่ว่าจะเหตุผลอะไร ฉันเชื่อว่าฉันควรจะเขียนเนื้อเพลงนั้น และฉันควรจะเรียนรู้จากมัน มันทำให้ฉันมองและนึกถึงใจของผู้หญิงคนอื่นๆ ซึ่งบางที่พวกเขาอาจจะมีความกังวลในการอยู่ในสังคม และมองเห็นเด็กสาวที่พยามยามจะเข้ากับสังคมในปัจจุบัน เราพยายามที่สุด มันจะง่ายขึ้น ถ้าเราได้รับการสนับสนุนจากสังคม”

หลังจากบทความนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ทางสื่อใหญ่ๆก็เริ่มตีความ และหลายๆสื่อ ก็ออกมาเขียนข่าวในเชิงว่า

‘เฮย์ลีย์รู้สึกเสียใจและขอโทษที่เขียนเพลง Misery Business ซึ่งเป็นเพลง Anti Feminism’
‘เฮย์ลีย์อธิบายเนื้อเพลง Misery Business ที่ขัดแย้งกับสตรีนิยม’

สื่อใหญ่ๆ เช่น NYLON เขียนไปในทิศทางนั้น โดยเฉพาะไนลอนเองนี่แหละที่เฮย์ลีย์ถึงกับลงทุนแปะสกรีนชอตของหัวข่าวลง Instagram story ในเชิงเสียดสีว่า ‘มีพาดหัวข่าวใหม่ด้วยเห้ย’

เฮย์ลีย์เองถึงกลับออกมาทวิตหลังจากบทความของ Track Seven ถูกนำออกไปประดิษฐ์เผยแพร่โดยสื่อใหญ่ๆ

“รู้ไว้พวก เนื้อหาเกี่ยวกับ Miz Biz ในบทความนั้น ฉันให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อหลายปีที่แล้ว จริงจังนะ เบื่อที่จะมารับฟังคำพูดที่ว่าอะไรคือเฟมินิสต์ที่ดี ไม่ดี”

“แล้วก็ ขอบคุณ Track Seven ด้วยที่สัมภาษณ์เกี่ยวกับ Riot! และ Miz Biz โดย ‘ไม่’ ทำให้มันเป็นบทความล่อเป้า”

“ท่อนริฟของ Miz Biz เจ๋งมาก ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม ฉันไม่เสียใจที่เพลงนี้เกิดขึ้นมา ฉันยินดีกับมัน เรากลายเป็นคนที่ดีขึ้น เพราะเพลงๆนี้”

สิ่งที่เราเรียนรู้คือ เฮย์ลีย์ ไม่เคยรู้สึกเสียดายกับเพลง Misery Business ที่ทำให้วง Paramore ดังพลุแตก และกลายเป็นขวัญใจเด็กป๊อปพังค์เมื่อสิบปีที่แล้ว มันทำให้เธอกลายเป็นคนที่เข้าใจ และเห็นใจผู้หญิงคนอื่นๆมากขึ้น สัญลักษณ์ที่เราเห็นได้ชัดคือไม่ว่าจะไปแสดงที่ไหน เพลง Misery Business จะมีการเรียกคนดู (ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง) ขึ้นมาร้องบนเวทีทุกงาน
การพยายามนำเอาเรื่องสตรีนิยมมาเป็นประเด็นและพาดหัวข่าวเพื่อขายบทความของสื่อใหญ่ ดูจะเป็นการกระทำที่เกินไปหน่อย

paramorebkk
0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments